จากอดีตสู่ ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เป็นโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม โดยมี นายเชื้อ สุขาพันธ์ เป็นครูใหญ่คนแรก โดยมีเป้าหมายที่ต้องการจัดการศึกษาให้แก่เยาวชนได้มีโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น พัฒนาเยาวชนไทยให้มีความรู้ด้านวิชาชีพเกษตรกรรมและวิชาการ โดยมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาเพื่อประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรวิสามัญเกษตรกรรม เน้นสอนให้เยาวชนรู้จักใช้มือฝึกหัดทำการเพาะปลูกเบื้องต้น เช่น ทำสวนที่โรงเรียน และต่อไปทำสวนที่บ้าน เพื่อบ่มนิสัยให้เยาวชนชอบทำงานด้วยมือ แล้วต่อไปค่อยขยายขึ้นไปตามลำดับ
พุทธศักราช 2480 กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดขึ้น ในโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม อีกแผนกหนึ่ง เพื่อฝึกหัดอบรมวิชาเกษตรเพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพของตนเองในทางเกษตร โดยมีความมุ่งหมายที่จะทำการปลูกพืชไร่ เลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ นำเงินรายได้มาบำรุงโรงเรียน เพราะจะหวังเงินงบประมาณได้ยาก ทั้งจะได้ฝึกฝนให้นักเรียนรู้จักใช้เครื่องมือ เช่น รถแทรคเตอร์ เป็นต้น.พุทธศักราช 2481 โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมตรัง” เปิดสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ชั้นประถมปีที่ 4 เข้าศึกษาต่อ 2 ปี
พุทธศักราช 2496 เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม) และผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 3 (ม.3 เดิม) เข้าศึกษาต่อ 2 ปี
พุทธศักราช 2507 เปิดสอนระดับมัธยมตอนปลายสายอาชีพ (แผนกเกษตรกรรม) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม) และผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.6 เดิม)เข้าเรียนต่ออีก 3 ปี และงดรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาประถมปีที่ 4 (ป.4) เข้าเรียนประโยคอาชีวศึกษาตอนต้น (เกษตรต้น)
พุทธศักราช 2518 เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4, 5) แผนกเกษตรกรรมแทนหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม
พุทธศักราช 2519 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกเกษตรกรรม โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม (ม.ศ.6 เกษตรกรรม)
ต่อมา พุทธศักราช 2520 ได้รับการยกวิทยฐานะจาก “โรงเรียนเกษตรกรรมตรัง” เป็น”วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง” เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกเกษตรกรรม แทนหลักสูตร ม.ศ.6 เกษตรกรรม และได้เปิดสอนการศึกษาพิเศษ (นอกระบบ) คือหน่วยฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมเคลื่อนที่และเปิดสอนหลักสูตรฝึกวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นใน พ.ศ. 2521
พุทธศักราช 2527 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) แผนกวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาไม้ผล–ไม้ยืนต้น และสาขาพืชไร่
พุทธศักราช 2531 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ (ปวช.พิเศษ) ตามโครงการอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท (อศ.กช.) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท
ครั้งหนึ่งในพุทธศักราช 2535 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการ องค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ระดับชาติ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2553 พระองค์ทรงเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมาชิกองค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ ผู้บริหารและผู้ทำคุณประโยชน์แก่องค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทยเข้ารับพระราชทานโล่ที่ระลึก จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทอดพระเนตรนิทรรศการเทิดพระเกียรติของหน่วย อกท. หลังจากนั้นพระองค์ทรงปลูกต้นไม้ “ต้นพญาไม้ ”
พุทธศักราช 2538 ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสิทธิไชยภักดีในวิทยาลัยเกษตรกรรมตรังอีกสถานศึกษาหนึ่ง เพื่อดำเนินการสอนหลักสูตรนอกเหนือจากประเภทวิชาชีพเกษตรกรรม ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ
พุทธศักราช 2539 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรกรรม ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต ภายใต้นโยบาย “เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการ” และได้รับการเปลี่ยนชื่อตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 จาก”วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง” เป็น “วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง”ถึงปัจจุบัน
นายชวน หลีกภัย
พุทธศักราช 2550 นายชวน หลีกภัย นักการเมืองไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหลายกระทรวง ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง 11 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ/แบบสัดส่วน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกต้นไม้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
ตลอดระยะเวลา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
“เป็นสถานศึกษาที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ และจิตวิญญาณผู้ประกอบการ โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีด้วยหลักสูตรที่ตอบโจทย์อนาคต มีสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์ทั้งอาคารเรียนที่โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม ศูนย์การเรียนรู้ ควบคู่กับห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเราพร้อมมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นผู้นำที่ก้าวไกลกว่าเดิม”
ลักษณะที่ตั้งของวิทยาลัย ด้านหน้าวิทยาลัยฯ ติดกับถนนเพชรเกษม ห่างจากตจังหวัด 13 กิโลเมตร ทิศเหนือติดกับตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ทิศใต้ติดกับชุมชนบ้านคลองเต็ง และติดกับชุมชนบ้านนานอน อยู่ในเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ ชุมชนโดยรอบวิทยาลัยฯ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง มีเนื้อที่ 2,384 ไร่ อยู่ในทำเลที่มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา พื้นที่อาคารเรียนประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก มีสนามกีฬากว้างขวางเหมาะสำหรับการออกกำลังกาย ภายในวิทยาลัยมีต้นไม้ที่ร่มรื่น สวยสดด้วยไม้ดอกและใบไม้ ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม มีที่นั่งพักผ่อนให้นักเรียน นักศึกษาเลือกได้ตามใจชอบ และยังเป็นสถานที่ที่ประชาชนสามารถแวะพักผ่อนและชมสวนป่าสมบูรณ์ที่ได้อนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้วิทยาลัยฯ ได้มีความสัมพันธ์กับชุมชนโดยได้มีส่วนร่วม และช่วยเหลือกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำบุญทอดกฐิน ทำบุญเทียนพรรษา การจัดงานประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีชักพระ กิจกรรมโครงการพิเศษต่าง ๆ ในด้านการส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน วิทยาลัยฯ ได้มีส่วนช่วยชุมชนโดยจัดบริการเผยแพร่ความรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น การฝึกอบรมโครงการ 108 อาชีพ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center การเผยแพร่ความรู้และวิทยาการเกษตรแก่ชุมชน ทางวิทยุกระจายเสียง และวิทยาลัยฯ ได้มอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาได้ใช้ประโยชน์ในการทดลองวิจัย/แหล่งเรียน ศึกษาพันธุ์ปาล์มที่เหมาะสมในภาคใต้ และพื้นผลทางการเกษตร ทั้งนี้กรมชลประทานได้เข้ามาพัฒนาแหล่งเก็บน้ำภายในพื้นที่ของวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างรายได้และคุณภาพชีวิต รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน เป็นน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศ และพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษารุ่น ต่อ ๆ ไป