

"เพิ่มทักษะการเรียนรู้ สู่เส้นทางอาชีพ"
หลักสูตรที่เปิดสอน
ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่เสริมสร้างการเป็นบัณฑิตยุคสมัยใหม่ ในด้านกระบวนการทางความคิดและทักษะการเรียนรู้ที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบและความสำนึกในหน้าที่ รวมถึงมีวิชาให้นักเรียน นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้และเตรียมพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ.
หลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ
หลักสูตรที่เปิดสอน
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
พัฒนาหลักสูตรและระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมรอบด้าน เพื่อให้นักเรียน นักษึกษาได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ.
-
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ใช้เวลาเรียน 3 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมตอนต้น ม.3 กศน.หรือเทียบเท่า.
-
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ใช้เวลาเรียน 2 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. และมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือเทียบเท่า.
-
หลักสูตรระยะสั้น
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพตามความต้องการของสถานประกอบการและเจ้าของอาชีพ เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกําหนด สามารถนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม เป็นอาชีพเสริม เปลี่ยนอาชีพใหม่ และหรือเพื่อการศึกษาต่อใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป.

การดำเนินงานในปัจจุบัน ระดับการศึกษา และสาขาวิชาที่เปิดสอน
หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2566
ปัจจุบันวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง เปิดทำการสอน 4 ประเภทวิชา ได้แก่ ประเภทวิชาเกษตรกรรม, ประเภทวิชาประมง,ประเภทวิชาคหกรรม, ประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ และเตรียมอาชีวศึกษา ทั้งในระดับ ปวช. ปวส. และระยะสั้น. เพื่อเป็นการรองรับความต้องการของนักเรียน นักศึกษา และตลาดแรงงาน คือ

-
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ใช้เวลาเรียน 3 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมตอนต้น ม.3 กศน.หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อ มี 3 ประเภทวิชา ดังนี้.
ประเภทวิชาเกษตรกรรม
★ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
• สาขางานการเกษตร
• สาขางานการเกษตร (อศ.กช.) โครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) คือ ผู้เรียนที่ทำอาชีพเกษตรมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี มีวุฒิการศึกษา ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า และมีใจรักในการเรียนด้านเกษตร แต่ยังขาดโอกาสในการศึกษา
• สาขางานการผลิตพืช
• สาขางานผลิตสัตว์
• สาขางานผลิตสัตว์นํ้า
• สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร
ประเภทวิชาคหกรรม
★ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
• สาขางานอาหารและโภชนาการ
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
★ สาขาวิชาการบัญชี
• สาขางานการบัญชี
★ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
• สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ -
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ใช้เวลาเรียน 2 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. และมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อ มี 3 ประเภทวิชา ดังนี้.
ประเภทวิชาเกษตรกรรม
★ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ★ สาขาวิชาพืชศาสตร์
• สาขางานเกษตรศาสตร์ (สมทบ) เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ • สาขางานพืชสวน
★ สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ ★ สาขาวิชาสัตวศาสตร์
• สาขางานเทคโนโลยีภูมิทัศน์ • สาขางานผลิตสัตว์
★ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
• สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร
ประเภทวิชาประมง
★ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า
• สาขางานเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า
ประเภทวิชาคหกรรม
★ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
• สาขางานอาหารและโภชนาการ
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
★ สาขาวิชาการบัญชี
• สาขางานการบัญชี -
หลักสูตรระยะสั้น
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพตามความต้องการของสถานประกอบการและเจ้าของอาชีพ เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกําหนด สามารถนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม เป็นอาชีพเสริม เปลี่ยนอาชีพใหม่ และหรือเพื่อการศึกษาต่อใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมตั้งแต่ 6 – 450 ชั่วโมง วิชาที่เปิดสอน มีดังนี้.
ประเภทวิชาเกษตรกรรม
★ วิชาการการขยายพันธุ์พืช
★ วิชาการเลี้ยงไก่ไข่
★ วิชาการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ
★ วิชาการการทำขนมและอาหารว่าง