หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

โครงสร้าง หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562

ประเภทวิชาเกษตรกรรม

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์    สาขางานการเกษตร

สาขางานการเกษตร เป็นสาขางานหนึ่งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง สาขาที่ให้ผู้เรียน เรียนรู้และฝึกฝนทักษะ กระบวนการคิด วิเคราะห์ ประดิษฐ์ และพัฒนานวัตกรรมทางเกษตรแนวใหม่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ การจัดการทางเทคโนโลยี หลักการบริหารจัดการทางด้านวิชาชีพกระบวนการงานพื้นฐาน ให้ทันต่อการเปลี่ยนและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคมงานผลิตและบริการทางการเกษตร ตามหลักการและกระบวนการในลักษณะครบวงจรเชิงธุรกิจกระบวนการปฏิบัติงานการเกษตรอัจฉริยะ มีการเลือกใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน พลังงานชีวมวล และการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรที่เหมาะสม นำไปสู่การเป็นนักวิจัย นักวิเคราะห์ เพิ่มศักยภาพในอาชีพการผลิตพืชและผลิตสัตว์อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงอาชีวอนามั และความปลอดภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเน้นคุณธรรมในวิชาชีพ

โอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ

นักเรียนที่จบการศึกษาในสาขางานการเกษตรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวได้หลายรูปแบบ อีกทั้งสามารถทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนได้ ซึ่งอาชีพหรืองานที่รองรับในสาขางานการเกษตร ได้แก่

  • เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตรหรือบริษัทธุรกิจเกษตรทุกประเภท
  • นักวิชาการในหน่วยงานราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ฯลฯ
  • อาจารย์สังกัดหน่วยงานของรัฐและเอกชน
  • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้

สาขานี้เรียนอะไร

ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญ หลักการ กระบวนการปฏิบัติงานทางการเกษตร

การวางแผนการปลูก การดูแลรักษา การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ ปัจจัยพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ประเภทและชนิดพันธุ์สัตว์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารสัตว์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วางแผนการดูแล การรักษาโรคและการสุขาภิบาลสัตว์ การจัดการผลผลิต การแปรรูปผลผลิต

การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆในกระบวนการทางการเกษตร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชและการผลิตสัตว์อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นคุณธรรมในวิชาชีพและสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช 2562  ประเภทวิชา เกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จะต้องศึกษารายวิชาหมวดวิชาต่างๆ  รวมไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต   และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  ดังโครงสร้างต่อไปนี้

1. หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า 22   หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย (ไม่น้อยกว่า  3 หน่วยกิต )
    1.2  กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า  6 หน่วยกิต )
    1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต )
    1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์  (ไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต )
    1.5 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา (ไม่น้อยกว่า  3 หน่วยกิต )
    1.6 กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ไม่น้อยกว่า  2 หน่วยกิต )
2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า  71   หน่วยกิต
    2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน (ไม่น้อยกว่า  18 หน่วยกิต )
    2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ( 24 หน่วยกิต )
    2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า  21 หน่วยกิต )
    2.4  ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต )
    2.5  โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ  (4 หน่วยกิต )
3. หมวดวิชาเลือกเสรี  ไม่น้อยกว่า 10   หน่วยกิต
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ( 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ )

รวม ไม่น้อยกว่า           103              หน่วยกิต

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์    สาขางานธุรกิจเกษตร

เป็นสาขางานหนึ่งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาธุรกิจเกษตร  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง ซึ่งได้เริ่มมีการจัดการศึกษาขึ้น ในปี พ.ศ. 2564 เป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ การวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา โดยสามารถประยุกต์และปรับตัว เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในสาขางานธุรกิจการเกษตร

โอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ

นักเรียนที่จบการศึกษาในสาขางานธุรกิจเกษตรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวได้หลายรูปแบบ อีกทั้งสามารถทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนได้ สำหรับสายงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งานด้านการพัฒนาการเกษตรและด้านการจัดการธุรกิจการเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนธุรกิจการเกษตร การรวบรวมปัจจัยการผลิต การตลาด การจัดจำหน่าย จนถึงการส่งออกสินค้าเกษตร สามารถประกอบอาชีพต่อไปนี้คือ

  • ประกอบกิจการฟาร์มของตนเอง
  • นักวิชาการเกษตรในฟาร์ม
  • ผู้จัดการฟาร์ม
  • เจ้าหน้าที่ทีมปรึกษาด้านการทำฟาร์ม
  • ตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
  • นักธุรกิจด้านการเกษตร
  • เจ้าหน้าที่ธนาคารที่รับผิดชอบงานสินเชื่อเกษตร
  • เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์การเกษตร  หรือกลุ่มเกษตรกร
  • เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรหรือประมงของรัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • นักพัฒนาในหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • นักพัฒนาและนักส่งเสริมในองค์กรพัฒนาเอกชน
  • ผู้ผลิตสื่ออิสระ
  • นักจัดรายการวิทยุ และโทรทัศน์
  • นักเขียนคอลัมน์วิทยาการเกษตรในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ

ปรัชญา

บูรณาการความรู้ด้านธุรกิจเกษตรสู่การเป็นผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืน

สาขานี้เรียนอะไร

ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช 2562  ประเภทวิชา เกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จะต้องศึกษารายวิชาหมวดวิชาต่างๆ  รวมไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต   และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  ดังโครงสร้างต่อไปนี้

1. หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า 22   หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย (ไม่น้อยกว่า  3 หน่วยกิต )
    1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า  6 หน่วยกิต )
    1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต )
    1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต )
    1.5 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา (ไม่น้อยกว่า  3 หน่วยกิต )
    1.6 กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ไม่น้อยกว่า  2 หน่วยกิต )
 2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า  71   หน่วยกิต
    2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน  (ไม่น้อยกว่า  18 หน่วยกิต )
    2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ( 24 หน่วยกิต )
    2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า  21 หน่วยกิต )
    2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต )
    2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ (4 หน่วยกิต )
3. หมวดวิชาเลือกเสรี  ไม่น้อยกว่า 10   หน่วยกิต
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ( 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ )

รวม ไม่น้อยกว่า           103            หน่วยกิต

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์     สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร

สาขางานนี้เป็นสาขางานที่ประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกระบวนการแปรรูปและถนอมอาหาร จะได้เรียนรู้หลากหลายแขนงวิชา เช่น องค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพของอาหาร จุลชีววิทยาในอาหาร หลักการถนอมอาหารและแปรรูปอาหาร กระบวนการผลิตอาหาร การประเมินคุณภาพทั้งทางประสาทสัมผัสและทางกายภาพ เช่น กลิ่น รสชาติและเนื้อสัมผัสของอาหารคุณค่าทางโภชนาการ การควบคุม และการประกัน คุณภาพอาหาร

โอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร และโรงงานแปรรูปผลิตผลการเกษตรในระดับเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ สามารถเริ่มงานเป็นผู้ควบคุมดูงานระดับหัวหน้าฝ่าย, หัวหน้าแผนก, ฝ่ายการผลิตฝ่ายวิจัยพัฒนา, ฝ่ายควบคุมคุณภาพ, ฝ่ายเทคนิคการตลาด, นักวิจัยในหน่วยงานราชการ, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน ฯลฯ

สาขานี้เรียนอะไร

ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช 2562  ประเภทวิชา เกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จะต้องศึกษารายวิชาหมวดวิชาต่างๆ  รวมไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต   และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  ดังโครงสร้างต่อไปนี้

1. หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า  22   หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย (ไม่น้อยกว่า  3 หน่วยกิต )
    1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า  6 หน่วยกิต )
    1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์  (ไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต )
    1.4  กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต )
    1.5 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา (ไม่น้อยกว่า  3 หน่วยกิต )
    1.6 กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ไม่น้อยกว่า  2 หน่วยกิต )
2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า  71   หน่วยกิต
   2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน (ไม่น้อยกว่า  18 หน่วยกิต )
   2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ( 24 หน่วยกิต )
   2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า  21 หน่วยกิต )
   2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต )
   2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ (4 หน่วยกิต )
3. หมวดวิชาเลือกเสรี  ไม่น้อยกว่า 10   หน่วยกิต
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ( 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ )

 รวม ไม่น้อยกว่า           103               หน่วยกิต

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart