วิธีการปฏิบัติขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย

วิธีการปฏิบัติขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ว่าด้วย คณะกรรมการ  พ.ศ. ๒๕๖

ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. ๒๕๕๙ หมวด ๕ ข้อ ๒๓-๒๘กำหนดให้องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีคณะกรรมการ อกท. เพื่อการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพของสมาชิก อกท. ภายใต้การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงสถานการณ์จริง

ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับคณะกรรมการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย มีความสอดคล้องเป็นรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ  อาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ว่าด้วยองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  พ.ศ. ๒๕๕๙ หมวด ๗ ข้อ ๓๗ แก้ไข ด้วยการยกเลิก วิธีการปฏิบัติของ อกท. ว่าด้วย คณะกรรมการ พ.ศ. ๒๕๕๔ และกำหนดวิธีการปฏิบัติไว้ดังนี้

 

ตอนที่ ๑
ระดับของคณะกรรมการ

ข้อ ๑. คณะกรรมการ อกท. แบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังนี้

๑.๑ คณะกรรมการ อกท.ระดับหน่วย มีหน้าที่บริหารและดำเนินกิจกรรมเพื่อมวลสมาชิกภายในหน่วย

๑.๒ คณะกรรมการ อกท.ระดับภาค มีหน้าที่บริหารและดำเนินกิจกรรมเพื่อมวลสมาชิกภายในภาค

๑.๓ คณะกรรมการ อกท.ระดับชาติ มีหน้าที่บริหารและดำเนินกิจกรรมเพื่อมวลสมาชิกทั่วประเทศ

ข้อ ๒ คณะกรรมการ อกท. แต่ละระดับ ประกอบด้วย

๒.๑ คณะกรรมการอำนวยการ อกท.

๒.๒ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.

 

ตอนที่ ๒
คณะกรรมการอำนวยการ อกท.

ข้อ ๓ คณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย

๓.๑ ให้หัวหน้าสถานศึกษาที่มีการจัดตั้งหน่วย อกท. เป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ของหน่วยนั้นโดยตำแหน่ง

๓.๒ การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย ให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย ดังนี้

๓.๒.๑ ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.

๓.๒.๒ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  เป็นรองประธานกรรมการ

๓.๒.๓  หัวหน้าแผนกวิชาทุกคณะวิชา เป็นกรรมการ

๓.๒.๔  หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา เป็นกรรมการ

๓.๒.๕  ครูคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน ๕ คน เป็นกรรมการ

๓.๒.๖ ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย เป็นกรรมการและเลขานุการ

๓.๒.๗  ผู้ช่วยครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๓.๓ วาระการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วยมีวาระ๑ ปีการศึกษา

๓.๔ หน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับหน่วย มีดังนี้

๓.๔.๑ กำหนดนโยบายการบริหารกิจกรรม อกท.ภายในหน่วย

๓.๔.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม อกท.ภายในหน่วย

๓.๔.๓ แต่งตั้ง มอบหมายหน้าที่แก่บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อการบริหารกิจกรรม อกท.ภายในหน่วย

๓.๔.๔ พิจารณาผลการประเมินการจัดกิจกรรม อกท. ภายในหน่วยเพื่อหาแนวทางในการพัฒนากิจกรรม

ข้อ ๔ คณะกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับภาค

๔.๑ ให้สรรหาประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค โดยวิธีการประชุมเลือกตั้ง

๔.๒ คุณสมบัติของผู้จะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค จะต้องเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วยที่ตั้งอยู่ในภาคนั้น

๔.๓ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค คือ คณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ในภาคนั้น

๔.๔ การประชุมเลือกตั้งประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ให้ดำเนินการดังนี้

๔.๔.๑ จัดประชุมเลือกตั้งผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ในช่วงเวลาการประชุมวิชาการ อกท.ระดับภาค

๔.๔.๒ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค พิจารณา กำหนด วัน เวลา และสถานที่ในการประชุมเลือกตั้ง แล้วแจ้งให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทราบทั่วกัน

๔.๔.๓ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการในการประชุมเลือกตั้ง ส่วนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะเป็นไปโดยวิธีลับหรือวิธีเปิดเผย ให้ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุม

๔.๔.๔ ที่ประชุมเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติ ครบถ้วนเข้ารับการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับภาค โดยต้องมีสมาชิกในที่ประชุมให้การรับรองไม่น้อยกว่า ๓ คน

๔.๔.๕ เมื่อการประชุมเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประธานในการประชุม เลือกตั้ง จัดทำประกาศเพื่อแจ้งผลให้ทราบทั่วกัน

๔.๕ การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ให้ปฏิบัติดังนี้

๔.๕.๑ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ที่ได้รับการเลือกตั้งพิจารณาบุคคลและผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เข้าร่วมเป็นกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ประกอบด้วย

(๑) ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย ที่ตั้งอยู่ภายในภาคนั้น เป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง

(๒) ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค ในภาคนั้น เป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง

(๓) ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย ที่ตั้งอยู่ในภาคนั้น เป็นกรรมการ โดยตำแหน่ง

(๔) สมาชิกวิสามัญ ที่สังกัดในภาคนั้น จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ

(๕) ผู้แทนสำนักงาน อกท.ระดับภาค ในภาคนั้น จำนวน ๑ คน  เป็นกรรมการ

(๖) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน ๕ คน เป็น กรรมการ

๔.๕.๒ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ที่ได้รับการเลือกตั้งเลือกบุคคลจากข้อ ๔.๕.๑ (๑) ทำหน้าที่เป็นรองประธานคนที่ ๑ และรองประธานคนที่ ๒

๔.๕.๓ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ที่ได้รับการเลือกตั้ง เลือกบุคคลจากข้อ ๔.๕.๑ (๒)-(๖) หรือบุคคลอื่น ทำหน้าที่เป็น กรรมการและเลขานุการ และ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๔.๕.๔ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ที่ได้รับการเลือกตั้ง เสนอรายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาคชุดใหม่ ต่อประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาคคนปัจจุบัน เพื่อเสนอให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาลงนาม แต่งตั้ง  ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม ของปีการศึกษาที่มีการเลือกตั้ง

๔.๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานคนที่ ๑ ปฏิบัติหน้าที่แทนในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค และรองประธานคนที่ ๑ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้พร้อมกัน ให้รองประธานคนที่ ๒ ปฏิบัติหน้าที่แทน และในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค รองประธานคนที่ ๑ และรองประธานคนที่ ๒ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะกรรมการอำนวยการ พิจารณาเลือกกรรมการจากบุคคลข้อ ๔.๕.๑ (๑) ปฏิบัติหน้าที่แทน

๔.๗ ในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค พ้นสภาพจากการเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค โดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้รองประธานคนที่ ๑  ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค แทนจนครบวาระ แล้วให้คัดเลือกบุคคลจากข้อ ๔.๕.๑(๑) มาทำหน้าที่แทนตำแหน่งที่ว่าง  แล้วเสนอรายชื่อให้ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แต่งตั้ง และประกาศให้ทราบโดยทั่วกันต่อไป

ในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค และรองประธานคนที่ ๑ พ้นสภาพจากการเป็นกรรมการพร้อมกัน ให้รองประธานคนที่ ๒ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาคแทนจนครบวาระ แล้วให้คัดเลือกบุคคลจากข้อ ๔.๕.๑(๑) มาทำหน้าที่แทนตำแหน่งที่ว่าง  แล้วเสนอรายชื่อให้ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แต่งตั้ง และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ส่วนในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ในคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ต้องพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมทำหน้าที่ตามสัดส่วนที่ว่างแล้วเสนอชื่อให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แต่งตั้งและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ยกเว้นกรรมการที่พ้นตำแหน่งในขณะที่วาระการปฏิบัติหน้าที่เหลือไม่ถึง ๙๐ วัน ไม่ต้องตั้งกรรมการทดแทน

๔.๘  วาระการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาคมีวาระละ ๒ ปีการศึกษา

๔.๙ การส่งมอบงาน ให้ส่งมอบงาน ให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยภายในเดือนเมษายน ของปีการศึกษาที่มีการเลือกตั้ง

๔.๑๐ หน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค มีดังนี้

๔.๑๐.๑ กำหนดนโยบายการบริหารกิจกรรม อกท.ภายในภาค

๔.๑๐.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม อกท.ภายในภาค

๔.๑๐.๓ แต่งตั้ง มอบหมายหน้าที่แก่บุคคล คณะบุคคลเพื่อการบริหารกิจกรรม ภายในภาค

๔.๑๐.๔ พิจารณาผลการดำเนินกิจกรรม อกท. ภายในภาค เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา

ข้อ ๕ คณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ

๕.๑ คุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ต้องเป็นหรือเคยเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย หรือระดับภาค หรือระดับชาติมาก่อน

๕.๒ ให้สรรหาประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ โดยวิธีการประชุมเลือกตั้ง

๕.๓ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติประกอบด้วย

๕.๓.๑ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย ทุกหน่วย

๕.๓.๒ คณะกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับชาติ

๕.๔ การประชุมเลือกตั้งประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ให้ดำเนินการดังนี้

๕.๔.๑ จัดประชุมเลือกตั้งประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ในช่วงเวลาการประชุมวิชาการ อกท.ระดับชาติ

๕.๔.๒ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ พิจารณา กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการประชุมเลือกตั้ง แล้วแจ้งให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนทราบทั่วกัน

๕.๔.๓ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการในการประชุมเลือกตั้ง ส่วนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จะเป็นไปโดยวิธีลับหรือวิธีเปิดเผย ให้ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุม

๕.๔.๔ ที่ประชุมเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เข้ารับการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติโดยต้องมีสมาชิกของที่ประชุมให้การรับรองจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน

๕.๔.๕ เมื่อการประชุมเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประธานในการประชุมเลือกตั้งจัดทำประกาศเพื่อแจ้งผลให้ทราบทั่วกัน

๕.๕ การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ให้ปฏิบัติดังนี้

๕.๕.๑ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ที่ได้รับการเลือกตั้ง พิจารณาบุคคลและผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เข้าร่วมเป็นกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ประกอบด้วย

(๑) ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ทุกภาคเป็นรองประธาน

(๒) ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วยทุกหน่วยเป็นกรรมการ

(๓) เลขานุการคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค ทุกภาค

(๔) ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ

(๕) ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาคทุกภาค

(๖) สมาชิกวิสามัญ จำนวนไม่เกิน ๔ คน

(๗) หัวหน้าสำนักงาน อกท.ระดับชาติ

(๘) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน ๕ คน

๕.๕.๒ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ที่ได้รับการเลือกตั้ง เลือกบุคคลจากข้อ ๕.๕.๑ (๑) ทำหน้าที่เป็นรองประธานคนที่ ๑  รองประธานคนที่ ๒  รองประธานคนที่ ๓ และรองประธานคนที่ ๔

๕.๕.๓ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับชาติ ที่ได้รับการเลือกตั้ง คัดเลือกบุคคล จาก ๕.๕.๑(๒) – (๘) หรือบุคคลอื่น ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ และ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๕.๕.๔ ประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับชาติ ที่ได้รับการเลือกตั้ง เสนอรายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ชุดใหม่ ต่อประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับชาติ  เพื่อเสนอเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแต่งตั้ง ทั้งนี้จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนมีนาคมของปีการศึกษาที่มีการเลือกตั้ง

๕.๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานคนที่ ๑ ปฏิบัติหน้าที่แทน

ในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ และรองประธานคนที่ ๑ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้พร้อมกัน ให้รองประธานคนที่ ๒ ปฏิบัติหน้าที่แทนและในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ รองประธานคนที่ ๑ รองประธานคนที่ ๒ รองประธานคนที่ ๓ และรองประธานคนที่ ๔ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการอำนวยการ อกท. พิจารณาเลือกกรรมการจากบุคคลข้อ ๔.๕.๑ (๒) ปฏิบัติหน้าที่แทน

๕.๗ ในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ พ้นสภาพจากการเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ โดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้รองประธานคนที่ ๑ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติแทนจนครบวาระและให้พิจารณาคัดเลือกบุคคลจาก ข้อ                      ๕.๕.๑(๑) มาทำหน้าที่แทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วเสนอรายชื่อให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแต่งตั้ง และประกาศให้ทราบโดยทั่วกันต่อไป

ในกรณีที่ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ และรองประธานคนที่ ๑ พ้นสภาพจากการเป็นกรรมการพร้อมกันให้รองประธานคนที่ ๒ รองประธานคนที่ ๓ รองประธาน  คนที่ ๔ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติแทนจนครบวาระ และให้พิจารณาคัดเลือกบุคคลจาก ข้อ ๕.๕.๑(๑) มาทำหน้าที่แทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วเสนอรายชื่อให้ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแต่งตั้ง และประกาศให้ทราบโดยทั่วกันต่อไป

ส่วนในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ในคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ ต้องพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมทำหน้าที่ตามสัดส่วนที่ว่างแล้วเสนอชื่อให้ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแต่งตั้ง  และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ยกเว้นกรรมการที่พ้นตำแหน่งในขณะที่วาระการปฏิบัติหน้าที่เหลือไม่ถึง ๙๐ วัน ไม่ต้องแต่งตั้งกรรมการทดแทน

๕.๘ วาระการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ มีวาระละ ๒ ปีการศึกษา

๕.๙ การส่งมอบงาน ให้ส่งมอบงาน ให้เสร็จสิ้นภายในเดือน เมษายนของปีการศึกษาที่มีการเลือกตั้ง

๕.๑๐ หน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ มีดังนี้

๕.๑๐.๑ กำหนดนโยบายในการบริหารกิจกรรม อกท.

๕.๑๐.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม อกท.

๕.๑๐.๓ แต่งตั้งมอบหมายหน้าที่แก่บุคคล คณะบุคคล เพื่อการบริหารกิจกรรม

๕.๑๐.๔ พิจารณาผลการดำเนินกิจกรรม อกท. เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา

 

ตอนที่ ๓
คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.

ข้อ ๖ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย

๖.๑ การสรรหานายก อกท. ระดับหน่วย ให้ปฏิบัติโดยใช้วิธีการเลือกตั้ง

๖.๒ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนายก อกท. ระดับหน่วย มีดังนี้

๖.๒.๑. ต้องเป็นสมาชิกสามัญ ที่สังกัดอยู่ใน อกท.หน่วยนั้น

๖.๒.๒ ต้องมีครูที่ปรึกษาสมาชิก อกท. ในหน่วยนั้นรับรอง ๑ คน

๖.๒.๓ ต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการ อกท.หน่วยนั้นกำหนด

๖.๓ การรับสมัครเลือกตั้งเป็นนายก อกท. ระดับหน่วย ให้ปฏิบัติดังนี้คือ

๖.๓.๑ สมาชิกที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อกท. ระดับหน่วยให้กรอกใบสมัคร ตามแบบท้ายวิธีการปฏิบัตินี้

๖.๓.๒ ยื่นใบสมัครต่อครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับหน่วย ภายในวันเวลาที่ คณะกรรมการ อกท. หน่วยนั้นกำหนด เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และแจ้งประธานคณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วยทราบ

๖.๔ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งนายก อกท. ระดับหน่วย คือ สมาชิกสามัญทุกคน ที่สังกัดในหน่วยนั้น

๖.๕ การเลือกตั้งนายก อกท. ระดับหน่วย ให้ปฏิบัติดังนี้

๖.๕.๑ จัดการเลือกตั้ง นายก อกท. ระดับหน่วย ก่อนวันปิดภาคเรียนสุดท้ายของปีการศึกษานั้น อย่างน้อย ๓๐ วัน

๖.๕.๒ นายก อกท. ระดับหน่วย แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย และตัวแทนสมาชิกทุกชั้นปี

๖.๕.๓ คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ประชุมพิจารณากำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการเลือกตั้ง โดยจะต้องจัดให้มีช่วงเวลาสำหรับลงคะแนนไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง และจัดทำประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน

๖.๕.๔ ลงคะแนนเสียงโดยใช้บัตรลงคะแนน

๖.๕.๕ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปลงคะแนนเลือกตั้งตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด โดยต้องนำบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา หรือบัตรประจำตัวสมาชิก อกท. หรือบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงต่อคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง

๖.๕.๖ เมื่อถึงกำหนดปิดการลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ทำการนับคะแนนทันที

๖.๕.๗ เมื่อนับคะแนนเสร็จสิ้น ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง รายงานผลการเลือกตั้งต่อประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับหน่วยและจัดทำประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

กรณีผู้สมัครนายก อกท.ระดับหน่วย ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเท่ากัน  ให้จัดการนับคะแนนเสียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าผลการนับคะแนนยังออกมาเท่าเดิม ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งนำผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงเท่ากันมาจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยให้สมาชิกทั้งหมดเป็นผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และถ้าผลการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเท่ากันอีก ให้นำผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันมาแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับหน่วย พิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม ผลการพิจารณาของครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับหน่วยถือเป็นอันสิ้นสุด

๖.๖ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับหน่วย ให้ปฏิบัติดังนี้

๖.๖.๑ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อกท. ระดับหน่วย พิจารณาคัดเลือกสมาชิก อกท.ภายในหน่วย เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ในตำแหน่ง รองนายก เหรัญญิก ผู้สื่อข่าว ปฏิคม และเลขานุการ ตำแหน่งละ ๑ คน

๖.๖.๒ ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก อกท. ระดับหน่วย เสนอรายชื่อคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ต่อครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับหน่วย เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วยแต่งตั้งและประกาศให้ทราบทั่วกัน ก่อนปิดภาคเรียนสุดท้ายของปีการศึกษานั้น อย่างน้อย ๓๐ วัน

๖.๗ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย ประพฤติตัวไม่เหมาะสม หรือบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้

๖.๘ ในกรณีที่นายก อกท.ระดับหน่วย ต้องพ้นสภาพจากการเป็นนายก อกท. ไม่ว่าโดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้รองนายก อกท. เลื่อนขึ้นไปทำหน้าที่นายก อกท.แทนจนครบวาระ และพิจารณาคัดเลือกสมาชิก อกท.ภายในหน่วย ที่เหมาะสมทำหน้าที่รองนายก อกท.แทน โดยเสนอให้ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย พิจารณาก่อนนำเสนอประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย แต่งตั้งและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ส่วนในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ในคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วยต้องพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้นายก อกท.หน่วย พิจารณาคัดเลือกสมาชิก อกท.ภายในหน่วยที่เหมาะสมดำรงตำแหน่งแทนจนครบวาระโดยเสนอให้ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย พิจารณาก่อนนำเสนอประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วยแต่งตั้งและประกาศเพื่อทราบโดยทั่วกัน

๖.๙ ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย มีวาระการปฏิบัติงาน ได้วาระละ ๑ ปีการศึกษา

๖.๑๐ ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย ส่งมอบงาน ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ปีการศึกษาถัดไป ก่อนปิดภาคเรียนสุดท้ายของปีการศึกษานั้น อย่างน้อย ๑๕ วัน

๖.๑๑ หน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วยมีดังนี้

๖.๑๑.๑ กำหนดแผนงานในการดำเนินกิจกรรมของหน่วย

๖.๑๑.๒ เสนอหรือแต่งตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

๖.๑๑.๓ ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการที่กำหนด

๖.๑๑.๔ ดำเนินกิจกรรมของ อกท.ระดับหน่วยให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติ

๖.๑๑.๕ สรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของหน่วย

ข้อ ๗ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค

๗.๑ การสรรหานายก อกท. ระดับภาค ให้ปฏิบัติโดยใช้วิธีการเลือกตั้ง

๗.๒ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนายก อกท. ระดับภาค มีดังนี้

๗.๒.๑ ต้องเป็นสมาชิกระดับหน่วยขึ้นไปที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา ที่จัดตั้งหน่วย อกท.ของภาคนั้น

๗.๒.๒ เป็นหรือเคยเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับหน่วยหรือ ระดับภาคหรือระดับชาติมาก่อน หรือเป็นหรือเคยเป็นประธานชมรมวิชาชีพ

๗.๒.๓ ต้องมีคำรับรองจากครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย และประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย

๗.๓ การสมัครรับเลือกตั้งนายก อกท. ระดับภาค ให้ปฏิบัติดังนี้คือ

๗.๓.๑ สมาชิกที่มีคุณสมบัติครบถ้วน และประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นนายก อกท. ระดับภาคให้กรอกใบสมัคร ตามแบบท้ายวิธีการปฏิบัตินี้

๗.๓.๒ ยื่นใบสมัครต่อครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับภาคภายในเวลาที่ อกท. ภาคนั้นกำหนด

๗.๔ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายก อกท.ระดับภาค คือ

๗.๔.๑ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย ทุกหน่วยในภาค

๗.๔.๒ ตัวแทนสมาชิกทุกหน่วยในภาค หน่วยละไม่เกิน ๒๐ คน

๗.๔.๓ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค

ทั้งนี้ให้นายก อกท.ระดับหน่วยเสนอรายชื่อบุคคลในข้อ ๗.๔.๑ และข้อ ๗.๔.๒ ให้นายก อกท.ระดับภาค ทราบก่อนวันเลือกตั้งอย่างน้อย ๑๕ วัน

๗.๕ การเลือกตั้งนายก อกท. ระดับภาค ให้ปฏิบัติดังนี้

๗.๕.๑ จัดการเลือกตั้ง นายก อกท.ระดับภาค ในช่วงเวลาจัดการประชุมวิชาการ อกท.ระดับภาค

๗.๕.๒ นายก อกท.ระดับภาค แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค และตัวแทนจาก อกท.ระดับหน่วยทุกหน่วยภายในภาคนั้นหน่วยละ ๑ คน

๗.๕.๓ คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ประชุมพิจารณากำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการเลือกตั้ง โดยจะต้องจัดให้มีช่วงเวลาสำหรับลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง และจัดทำประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าไม่น้อย กว่า ๑ วัน

๗.๕.๔ ลงคะแนน เลือกตั้งโดยใช้บัตรลงคะแนน

๗.๕.๕ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งไปลงคะแนน ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด โดยต้องนำบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา หรือบัตรประจำตัวสมาชิก อกท. หรือบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงต่อคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง

๗.๕.๖ เมื่อถึงกำหนดปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ทำการนับคะแนนเสียงทันที

๗.๕.๗ เมื่อนับคะแนนเสร็จสิ้น ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง รายงานผลการเลือกตั้งต่อประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค และจัดทำประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

กรณีผู้สมัครนายก อกท.ระดับภาค ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเท่ากัน  ให้จัดการนับคะแนนเสียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าผลการนับคะแนนยังออกมาเท่าเดิม ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งนำผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงเท่ากันมาจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยให้นายก อกท.ระดับหน่วย ทุกหน่วย และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค ที่มีผู้สมัครคะแนนเสียงเท่ากัน เป็นผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และถ้าผลการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเท่ากันอีก ให้นำผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันมาแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับภาค พิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม ผลการพิจารณาของครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับภาคถือเป็นอันสิ้นสุด

๗.๖ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับภาค ให้ปฏิบัติดังนี้

๗.๖.๑ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อกท.ระดับภาค พิจารณาคัดเลือกสมาชิก อกท.จากหน่วยต่าง ๆ ภายในภาค ที่เป็นหรือเคยเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. หรือประธานชมรมวิชาชีพ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาคในตำแหน่ง รองนายก เหรัญญิก ผู้สื่อข่าว ปฏิคม และเลขานุการ ตำแหน่งละ ๑ คน

๗.๖.๒ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อกท.ระดับภาค เสนอรายชื่อคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาคชุดใหม่ ต่อครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค และนำเสนอให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค แต่งตั้งและประกาศให้ทราบทั่วกัน โดยดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคมของปีการศึกษานั้น

๗.๗ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค ประพฤติตัวไม่เหมาะสม หรือบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้

๗.๘ ในกรณีที่นายก อกท.ระดับภาคต้องพ้นสภาพจากการเป็นนายก อกท. ก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ไม่ว่าโดยสาเหตุใดก็ตาม ให้รองนายก อกท.ระดับภาคทำหน้าที่นายก อกท.ระดับภาคแทนจนครบวาระ และให้นายก อกท.คนใหม่พิจารณาคัดเลือกสมาชิก อกท.ภายในภาค ที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ ๗.๖.๑ ทำหน้าที่รองนายก อกท.ระดับภาคแทน โดยเสนอให้ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับภาค พิจารณาก่อนนำเสนอประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับภาค แต่งตั้งและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ส่วนในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ในคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาคต้องพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้นายก อกท.ภาคพิจารณาคัดเลือกสมาชิก อกท.ภายในภาคที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ ๗.๖.๑ ดำรงตำแหน่งแทนจนครบวาระ โดยเสนอให้ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค พิจารณานำก่อนเสนอประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค แต่งตั้ง และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

๗.๙ ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค มีวาระการปฏิบัติงานวาระละ ๑  ปีการศึกษา

๗.๑๐ ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค ส่งมอบงาน ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับภาค ปีการศึกษา ถัดไป ภายในเดือนมีนาคม

๗.๑๑ หน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค มีดังนี้

๗.๑๑.๑ กำหนดแผนงานในการดำเนิน กิจกรรมของภาค

๗.๑๑.๒ เสนอหรือแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ

๗.๑๑.๓ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงาน

๗.๑๑.๔ ดำเนินกิจกรรมของ อกท.ระดับภาค ให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติ

๗.๑๑.๕ สรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม อกท.

ข้อ ๘ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ

๘.๑ การสรรหานายก อกท. ระดับชาติ ให้ปฏิบัติโดยใช้วิธีการเลือกตั้ง

๘.๒ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนายก อกท. ระดับชาติ มีดังนี้

๘.๒.๑ ต้องเป็นสมาชิกระดับภาคขึ้นไปที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา ที่จัดตั้งหน่วย อกท.

๘.๒.๒ เป็นหรือเคยเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับหน่วยหรือ ระดับภาคหรือระดับชาติมาก่อน

๘.๒.๓ ต้องมีคำรับรองจากครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย และประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย

๘.๓ การสมัครรับเลือกตั้งนายก อกท. ระดับชาติ ให้ปฏิบัติดังนี้

๘.๓.๑ สมาชิกที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อกท.ระดับชาติ ให้กรอกใบสมัคร ตามแบบท้ายวิธีการปฏิบัตินี้

๘.๓.๒ ยื่นใบสมัครต่อครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับชาติ ภายในเวลาที่ อกท. ระดับชาติกำหนด

๘.๔ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายก อกท.ระดับชาติ คือ

๘.๔.๑ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย ปีการศึกษาปัจจุบัน ทุกหน่วย

๘.๔.๒ ตัวแทนสมาชิกทุกหน่วย หน่วยละไม่เกิน๑๐ คน

๘.๔.๓ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค ปีการศึกษาปัจจุบัน

๘.๔.๔ คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ

ทั้งนี้ให้นายก อกท.ระดับหน่วย เสนอรายชื่อบุคคลในข้อ ๘.๔.๑ และข้อ ๘.๔.๒   ให้นายก อกท.ระดับชาติ ในวันลงทะเบียนร่วมงานการประชุมวิชาการ อกท.ระดับชาติ

๘.๕ การเลือกตั้งนายก อกท. ระดับชาติ ให้ปฏิบัติดังนี้

๘.๕.๑ การเลือกตั้ง นายก อกท.ระดับชาติ ในช่วงเวลาจัดการประชุมวิชาการ อกท.ระดับชาติ

๘.๕.๒ นายก อกท.ระดับชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง  ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ และตัวแทน อกท.ระดับภาค ๆ ละ ๒ คน

๘.๕.๓ คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ประชุมพิจารณากำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการเลือกตั้ง โดยจะต้องจัดให้มีช่วงเวลาสำหรับลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง และจัดทำประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑ วัน

๘.๕.๔ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยใช้บัตรลงคะแนน

๘.๕.๕ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปลงคะแนน ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด โดยต้องนำบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา หรือบัตรประจำตัวสมาชิก อกท. หรือบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงต่อคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง

๘.๕.๖ เมื่อถึงกำหนดปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ทำการนับคะแนนทันที

๘.๕.๗ เมื่อนับคะแนนเสร็จสิ้น ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งรายงานผลการเลือกตั้งต่อประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ เพื่อจัดทำประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

กรณีผู้สมัครนายก อกท.ระดับชาติ ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเท่ากัน  ให้จัดการนับคะแนนเสียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าผลการนับคะแนนยังออกมาเท่าเดิม ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งนำผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงเท่ากันมาจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยให้นายก อกท.ระดับหน่วยทุกหน่วย คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค และและระดับชาติ เป็นผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และถ้าผลการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเท่ากันอีก ให้นำผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันมาแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับชาติ พิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม ผลการพิจารณาของครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับชาติ ถือเป็นอันสิ้นสุด

๘.๖ ในการแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับชาติ ให้ปฏิบัติดังนี้

๘.๖.๑ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อกท.ระดับชาติ พิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค ปีการศึกษาถัดไป ภาคละ ๑ คน และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย ที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมวิชาการอกท.ระดับชาติ ในปีต่อไป ๑ คน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติในตำแหน่ง รองนายก เหรัญญิก ผู้สื่อข่าว ปฏิคม และเลขานุการ

๘.๖.๒ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อกท.ระดับชาติ เสนอรายชื่อคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ ปีการศึกษาถัดไป ต่อครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ เพื่อพิจารณา ก่อนนำเสนอประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ แต่งตั้งภายในเดือนกุมภาพันธ์ แล้วประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

๘.๗ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ ประพฤติตัวไม่เหมาะสม หรือบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้

๘.๘ ในกรณีที่นายก อกท.ระดับชาติ ต้องพ้นสภาพจากการเป็นนายก อกท. ก่อนหมดวาระการปฏิบัติงานไม่ว่าโดยสาเหตุใดก็ตาม ให้รองนายก อกท. ทำหน้าที่นายก อกท.แทนจนครบวาระ และให้นายก อกท.คนใหม่ พิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ ๘.๖.๑ ตามสัดส่วนที่ว่าง ทำหน้าที่รองนายก อกท.แทน โดยเสนอให้ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท. ระดับชาติ พิจารณาก่อนนำเสนอต่อประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับชาติ แต่งตั้งและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ส่วนในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ในคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ ต้องพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตามก่อนหมดวาระการปฏิบัติงาน ให้นายก อกท.ระดับชาติ พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ ๘.๖.๑ ตามสัดส่วนที่ว่าง ทำหน้าที่ในตำแหน่งที่ว่าง แทนจนครบวาระ โดยเสนอให้ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ พิจารณาก่อนนำเสนอประธานกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ แต่งตั้ง และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

๘.๙ ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ มีวาระการปฏิบัติงาน วาระละ ๑ ปีการศึกษา

๘.๑๐ ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ ส่งมอบงาน ให้คณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ ปีการศึกษาถัดไป ภายในเดือนมีนาคม

๘.๑๑ หน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ มีดังนี้

๘.๑๑.๑ กำหนดแผนงานในการดำเนินกิจกรรม อกท.ระดับชาติ

๘.๑๑.๒ เสนอหรือแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ เพื่อดำเนินกิจกรรม อกท.ระดับชาติ

๘.๑๑.๓ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด

๘.๑๑.๔ ดำเนินกิจกรรม อกท.ระดับชาติ ให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติ

๘.๑๑.๕ สรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม อกท. ระดับชาติ

 

ตอนที่ ๔
คณะกรรมการ อกท.

ข้อ ๙ คณะกรรมการ อกท.ระดับหน่วย

๙.๑ คณะกรรมการ อกท. ระดับหน่วย ประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับหน่วย และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย

๙.๒ ให้คณะกรรมการ อกท. ระดับหน่วย ประชุมสามัญอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง

๙.๓ หน้าที่ของคณะกรรมการ อกท.ระดับหน่วย มีดังนี้

๙.๓.๑ กำหนดแนวทางในการบริหารกิจกรรมของหน่วย

๙.๓.๒ พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการตรวจสอบคุณสมบัติการเลื่อนระดับสมาชิก การคัดเลือกสมาชิก อกท.ดีเด่น ศิษย์เก่าดีเด่นระดับหน่วย

๙.๓.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่างระเบียบ วิธีการปฏิบัติของ อกท. หลักเกณฑ์ และรายละเอียดที่มีการเสนอ กำหนด แก้ไข เพิ่มเติม เพื่อเสนอ อกท.ระดับภาคต่อไป

๙.๓.๔ ดำเนินการสรรหาครูที่ปรึกษาและผู้ช่วยครูที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับหน่วย

๙.๓.๕ แสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม อกท.

๙.๓.๖ ประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข หรือหาข้อยุติ ในข้อขัดแย้งในการดำเนินกิจกรรม อกท.

๙.๓.๗ ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ วิธีการปฏิบัติ หลักเกณฑ์และรายละเอียดที่ อกท.กำหนด

ข้อ ๑๐ คณะกรรมการ อกท.ระดับภาค

๑๐.๑ คณะกรรมการ อกท. ระดับภาค  ประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับภาค และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับภาค

๑๐.๒ ให้คณะกรรมการ อกท. ระดับภาค ประชุมสามัญอย่างน้อย ปีการศึกษาละ ๔ ครั้ง

๑๐.๓ หน้าที่ของคณะกรรมการ อกท.ระดับภาค มีดังนี้

๑๐.๓.๑ กำหนดแนวทางในการบริหารกิจกรรม อกท.ของภาค

๑๐.๓.๒ พิจารณาให้ความเห็นชอบผล การตรวจสอบคุณสมบัติการเลื่อนระดับสมาชิก การคัดเลือกสมาชิกดีเด่น ศิษย์เก่าดีเด่น และหน่วยอกท.ดีเด่น ระดับภาค

๑๐.๓.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่างระเบียบ วิธีการปฏิบัติของ อกท. หลักเกณฑ์ รายละเอียดที่มีการเสนอ กำหนด แก้ไข เพิ่มเติม เพื่อเสนอ อกท.ระดับชาติ ต่อไป

๑๐.๓.๔ แสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม อกท.

๑๐.๓.๕ ประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข หรือหาข้อยุติ ในข้อขัดแย้งในการดำเนินกิจกรรม อกท.

๑๐.๓.๖ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ วิธีการปฏิบัติ หลักเกณฑ์และรายละเอียดที่ อกท.กำหนด

ข้อ ๑๑ คณะกรรมการ อกท.ระดับชาติ

๑๑.๑ คณะกรรมการ อกท. ระดับชาติ ที่ประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการ อกท.ระดับชาติ และคณะกรรมการดำเนินงาน อกท.ระดับชาติ

๑๑.๒ ให้คณะกรรมการ อกท. ระดับชาติ ประชุมสามัญอย่างน้อย ปีการศึกษาละ ๔ ครั้ง

๑๑.๓ หน้าที่ของคณะกรรมการ อกท.ระดับชาติ มีดังนี้

๑๑.๓.๑ กำหนดแนวทางในการบริหารกิจกรรม อกท.

๑๑.๓.๒ พิจารณาให้ความเห็นชอบผล การตรวจสอบคุณสมบัติการเลื่อนระดับสมาชิก การคัดเลือกสมาชิก อกท.ดีเด่น ศิษย์เก่าดีเด่น และหน่วย อกท.ดีเด่น ระดับชาติ

๑๑.๓.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนด แก้ไข เพิ่มเติม ระเบียบวิธีการปฏิบัติ อกท. หลักเกณฑ์และรายละเอียด เพื่อประกอบวิธีการปฏิบัติของ อกท.

๑๑.๓.๔ แสวงหาความร่วมมือจากภาค รัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม อกท.

๑๑.๓.๕ ประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข หรือหาข้อยุติ ในข้อขัดแย้งการดำเนินกิจกรรม อกท.

๑๑.๓.๖ ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ วิธีการปฏิบัติ หลักเกณฑ์และรายละเอียดที่ อกท.กำหนด

 

ตอนที่ ๕
การรักษาการและการใช้วิธีการปฏิบัติ

ข้อ ๑๒ ให้ประธานกรรมการอำนวยการ อกท. ระดับชาติ รักษาการให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัตินี้

ข้อ ๑๓ ให้ใช้วิธีการปฏิบัตินี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใช้วิธีการปฏิบัตินี้เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ เดือน เมษายน   พ.ศ. ๒๕๖๒

(นายประเวศวรางกูร)

ประธานกรรมการอำนวยการ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐-๒๕๖๑

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart