กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

[vc_row][vc_column]

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

[vc_column_text]กยศ. ให้โอกาส…ให้อนาคต

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สนับสนุนเงินกู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา และระดับปริญญาตรี กองทุนได้ดำเนินการให้กู้ยืมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ปีการศึกษา 2563     กองทุนได้เตรียมงบประมาณให้กู้ยืมจำนวนประมาณ 34,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่คาดว่าจะกู้ยืมในปีนี้จำนวน 590,000 ราย ซึ่งเงินที่ใช้ในการให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นเงินที่ได้รับชำระคืนจากผู้กู้ยืมรุ่นพี่ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา

ู้ให้ยาก…จ่ายให้ง่าย

  • กู้ให้ยาก : คัดกรองคนเก่ง คนดีให้ได้มีโอกาส
  • มีความจำเป็นต้องขอกู้ยืม
  • มีคุณสมบัติที่กองทุนกำหนด
  • กู้ยืมเท่าที่จำเป็น…กู้น้อยเป็นหนี้น้อย…กู้มากเป็นหนี้มาก
  • มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนให้สำเร็จตามหลักสูตร
  • มีวินัยทางการเงิน…ใช้เงินกู้ยืมอย่างรู้คุณค่า
  • มีจิตอาสา จิตสาธารณะ

จ่ายให้ง่าย : จบการศึกษา ส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้รุ่นน้อง ตอบแทนสังคม

  • จ่ายสะดวกได้ทั้งแบบรายเดือนและรายปี
  • ช่องทางชำระหนี้ทั่วถึง ทั่วประเทศ
  • ชำระหนี้ภายในกำหนด…ไม่เสียเบี้ยปรับและไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

[/vc_column_text]

[/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column]

วิธีการกู้ยืมเงิน

[vc_column_text]1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย

2.เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้

ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า ผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี รายได้ต่อครอบครัว พิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดามารดา ในกรณีที่บิดา มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
(2) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดา มารดา
(3) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรสแล้ว

3. มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้

3.1 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา
3.2 เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น
3.3 เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง หรือส่วนราชการอื่นๆ ทบวงมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ
3.4 ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน
3.5 ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างศึกษา
3.6 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3.7 ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3.8 ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้ โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี

กรณีที่ผู้ขอกู้ยืมรายใดเคยกู้ยืมเงินกองทุน กยศ.หรือกองทุน กรอ. มาแล้ว แต่ผิดนัดชำระหนี้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนฟ้องคดี และ/หรือเคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีมาแล้ว ผู้ขอกู้ยืมรายนั้นสามารถกู้ยืมเงินกองทุนต่อไป หากได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนเสร็จสิ้นแล้ว[/vc_column_text]

[/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column]

คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน

[vc_column_text]1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย

2.เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้

ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า ผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี รายได้ต่อครอบครัว พิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดามารดา ในกรณีที่บิดา มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
(2) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดา มารดา
(3) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรสแล้ว

3. มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้

3.1 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา
3.2 เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น
3.3 เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง หรือส่วนราชการอื่นๆ ทบวงมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ
3.4 ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน
3.5 ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างศึกษา
3.6 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3.7 ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3.8 ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้ โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี

กรณีที่ผู้ขอกู้ยืมรายใดเคยกู้ยืมเงินกองทุน กยศ.หรือกองทุน กรอ. มาแล้ว แต่ผิดนัดชำระหนี้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนฟ้องคดี และ/หรือเคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีมาแล้ว ผู้ขอกู้ยืมรายนั้นสามารถกู้ยืมเงินกองทุนต่อไป หากได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนเสร็จสิ้นแล้ว[/vc_column_text]

[/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column]

วิธีการกู้ยืมเงิน

[vc_column_text]1.ลงทะเบียน

เข้าไปที่เว็บไซต์ของกองทุน www.studentloan.or.th เพื่อลงทะเบียนขอรหัสผ่าน โดยนักเรียน นักศึกษาต้องใช้เลขประชาชนเป็น username และกำหนดรหัสผ่านในการเข้า สู่ระบบ e-studentloan

2. ยื่นแบบคำขอกู้

กรอกแบบฟอร์มคำขอกู้ยืมในระบบ e-studentloan โดยเลือกตามระดับการศึกษาพร้อมทั้งระบุเลือกความประสงค์ขอกู้ ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา/ค่าครองชีพปีการศึกษา 2563 กองทุนได้ปรับค่าครองชีพ ระดับ ปวช./ปวส./ปริญญาตรี จากเดิม 2,400 บาท เป็น 3,000 บาท/เดือน[/vc_column_text]

[/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column]

สถานศึกษาคัดเลือก

[vc_column_text]

นักเรียน นักศึกษาติดตามประกาศผลการคัดเลือกผ่านระบบ e-studentloan และประกาศของสถานศึกษา โดยนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมจะอยู่ภายในวงเงิน

3. เปิดบัญชี (กรณีขอกู้ยืมค่าครองชีพ)

นักเรียน  นักศึกษา  ที่ได้รับคัดเลือก เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ณ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา กรณีนับถือศาสนาอิสลาม สามารถเลือกเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์  ณ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา

4. ทำสัญญา

นักเรียน นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกทำสัญญาในระบบ e-studentloan และสั่งพิมพ์สัญญา  จำนวน  2  ชุด  พร้อมนำสำเนาสมุดคู่ฝากออมทรัพย์ (หน้าแรก) สำเนาบัตรประชาชน  สำเนาทะเบียนบ้าน และหนังสือรับรองรายได้ พร้อมกับบุคคลที่เป็นผู้ค้ำประกัน
ไปสถานศึกษา เพื่อทำสัญญากู้ยืม

5. ตรวจสอบสัญญา และการบันทึกจำนวนเงินที่ขอกู้ยืม

สถานศึกษาตรวจสอบสัญญาและเอกสารประกอบการกู้ยืมเงินพร้อมทั้งตรวจสอบการลงทะเบียน และการบันทึกจำนวนเงินที่ขอกู้ยืม (ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ) โดยไม่เกินจำนวนที่สถานศึกษาเรียกเก็บผ่านระบบ e-Studentloan แล้วให้ผู้กู้ยืมเงินตรวจสอบความถูกต้อง หากถูกต้องแล้วให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานทั้งผู้กู้ยืมเงิน และสถานศึกษา

6. การรับเงินกู้ยืม

ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา จ่ายเข้าบัญชีของสถานศึกษา

ค่าครองชีพส่วนตัว จ่ายเข้าบัญชีของนักเรียนนักศึกษาผู้กู้ยืมโดยผ่านธนาคารที่ผู้กู้ยืมเปิดบัญชีไว้

ผู้ค้ำประกันต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ดังนี้

1. บิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือคู่สมรส หรือ
2. บุคคลที่ประกอบอาชีพมีรายได้น่าเชื่อถือตามที่คณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมประจำสถานศึกษากำหนดให้เป็นผู้ค้ำประกันได้

แนวปฏิบัติเรื่องการค้ำประกัน

1. กรณีที่นักเรียน/นักศึกษา ไม่มีบิดา มารดา ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ให้การยินยอมในการทำนิติกรรมสัญญาและเป็นผู้ค้ำประกัน “ผู้ปกครอง” ได้แก่ ผู้ปกครองตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 กฎกระทรวง ระเบียบที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องผู้ปกครอง นักเรียน/นักศึกษา ซึ่งหมายถึง บุคคลซึ่งรับนักเรียน/นักศึกษาไว้ในความปกครอง หรืออุปการะเลี้ยงดู หรือบุคคลที่นักเรียน/นักศึกษาอาศัยอยู่
2. กรณีคู่สมรสของผู้ค้ำประกันไม่ยินยอมลงนามให้ความยินยอมค้ำประกัน ให้ผู้ค้ำประกันลงนามฝ่ายเดียวได้
3. กรณีคู่สมรสของผู้ค้ำประกันมอบอำนาจให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวแทน ให้ผู้ค้ำประกันลงนามฝ่ายเดียวได้
4. ผู้ค้ำประกันไม่สามารถเพิกถอนการค้ำประกันได้ ในระหว่างเวลาที่ผู้กู้ยืมเงิน ต้องรับผิดชอบอยู่ตามเงื่อนไขในสัญญากู้ยืมเงิน
5. ในการทำสัญญากู้ยืมเงินแต่ละครั้ง ผู้กู้ยืมเงินอาจเปลี่ยนแปลงผู้ค้ำประกันใหม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ค้ำประกันคนเดิม

[/vc_column_text]

[/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column]

รายการเอกสาร/หลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณากู้ยืมเงิน

[vc_column_text]

1. แบบคำขอกู้ยืมเงินที่จัดพิมพ์ออกจากระบบ e-Studentloan และแบบคำขอกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสาร(แบบ กยศ.101)

2. เอกสารของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
– สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. เอกสารของบิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
– สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

4. เอกสารประกอบการรับรองรายได้ ดังนี้

4.1 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินมีรายได้ประจำ ให้ใช้หนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือนของบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี
4.2 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินไม่มีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (แบบ กยศ.102) และสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้รับรองรายได้

5. หนังสือแสดงความคิดเห็นของอาจารย์แนะแนวหรืออาจารย์ที่ปรึกษา (แบบ กยศ.103)

6. แผนผังแสดงที่ตั้งของที่อยู่อาศัย พร้อมรูปถ่ายที่อยู่อาศัยของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง

7. ใบแสดงผลการศึกษา/สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา

8. การเข้าร่วมโครงการมุ่งจิตอาสา

9. เอกสารอื่นๆ ซึ่งสถานศึกษาพิจารณาเพิ่มเติม

* หมายเหตุ : สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อ โดยเจ้าของเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา บิดาต้องเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้อง เป็นต้น

[/vc_column_text]

[/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column]

วิธีการชำระหนี้

[vc_column_text]1. ผู้ครบกำหนดชำระเงินคืนกองทุนฯ สามารถชำระคืนได้ทั้งแบบรายปีและรายเดือน

2. ตรวจสอบยอดหนี้ได้ที่

– www.studentloan.or.th
– www.ktb.co,th
– www.ibank.co.th

3. ช่องทางการชำระหนี้

– บมจ.ธนาคารกรุงไทย
– ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
– บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด
– บริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด[/vc_column_text]

[/vc_column][/vc_row]

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart